1. ลดสิ่งเร้า
สิ่งเร้าเป็นตัวแปรสำคัญ
ที่ทำให้สมาธิของลูกน้อยลง
ดังนั้นการลดสิ่งเร้าต่างๆ
จะทำให้ทำให้เด็กไม่จดจ่อ
อยู่กับสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่สำคัญ
นำไปสู่การมีสมาธิกับสิ่งสำคัญได้มากขึ้น
----------
2. เฝ้ากระตุ้น
จำเป็นต้องมีผู้ใหญ่คอยติดตาม
และตักเตือนอย่างใกล้ชิด
เนื่องจากเด็กเล็กไม่สามารถ
ควบคุมตัวเองได้ตลอดเวลา
แม้จะรู้ และเข้าใจว่าควรทำสิ่งใดก็ตาม
----------
3. หนุนจิตใจ
เด็กมักทำสิ่งต่างๆ ไม่สำเร็จ
เพราะได้รับแต่คำตำหนิติเตียน
เด็กจึงต้องการกำลังใจอย่างมาก
จากพ่อแม่ และคุณครู
----------
4. ให้รางวัล
เด็กที่สมาธิบกพร่อง
มักจะเบื่อ และขาดความอดทน
แต่หากมีรางวัลตามมา
เด็กจะรู้สึกท้าทาย
และมีแรงจูงใจ
ในการทำงานมากขึ้น
.
โดยการให้รางวัล
ควรให้ง่ายๆ บ่อยๆ
มากกว่าที่ให้เด็กทั่วไป
และต้องให้ในทันที
----------
5. การพูดกับเด็ก
ไม่พูดมาก ไม่เหน็บแนม
ประชดประชัน ไม่ติเตียน
บอกกับเด็กสั้น ๆ ง่าย ๆ
ว่าต้องการให้ทำอะไรในตอนนี้
หากไม่แน่ใจว่าเด็กฟังอยู่
พ่อแม่ควรให้เด็กทบทวน
ว่าสิ่งที่สั่ง หรือพูดไปคืออะไรบ้าง
----------
6. นับสิ่งดี
หาเวลาหยุดพักสั้น ๆ ในแต่ละวัน
เตือนตัวเองอยู่เสมอว่า
เด็กไม่ได้ตั้งใจทำตัวให้มีปัญหา
แต่เด็กมีความผิดปกติในการทำงานของสมอง
ทำให้คุมตัวลำบาก หยุดตัวเองได้ยาก
และไม่มีใครอยากเป็นแบบนี้
.
ให้อภัยแก่เด็ก ตัวเราเอง
และทุกคนที่อาจไม่เข้าใจพฤติกรรมของลูก
คิดถึงความน่ารัก และความดีในตัวเด็ก
----------
7. มีขอบเขต
มีตารางเวลา หรือรายการสิ่งที่ต้องทำ
เพื่อให้เด็กรับรู้ขีดจำกัด
และช่วยควบคุมให้เด็กทำตามง่ายขึ้น
เรียงลำดับกิจกรรมง่าย ๆ ให้ชัดเจน
ไม่ปล่อยปละละเลย หรือตามใจมากเกินไป
เพื่อไม่ให้เด็กสับสนและผัดผ่อนต่อรองบ่อย ๆ
อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.alpha-b.me/Knowledge-News_Detail/128&no=5
|